การรักษาโควิด-19

ผู้ที่มีผลตรวจเชื้อโควิด-19 เป็นบวกและมีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยร้ายแรงสามารถใช้การรักษาโควิด-19 (ยา) ที่มีอยู่ได้ วิธีการรักษาแบบนี้ช่วยป้องกันการเจ็บป่วยที่รุนแรง การเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล และการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ได้ พูดคุยกับผู้ให้บริการดูแลสุขภาพของคุณทันทีหากมีผลตรวจเป็นบวกและมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากต้องเริ่มการรักษาแต่เนิ่นๆ เพื่อให้ได้ผลดีที่สุด ผู้ให้บริการดูแลสุขภาพของคุณจะช่วยกำหนดตัวเลือกยารักษาโควิด-19 ที่ดีที่สุดให้กับคุณ

การรักษา/ยารักษาโควิด-19 ไม่ได้ช่วยป้องกัน เรายังคงแนะนำให้ทุกคนที่มีสิทธิ์ได้รับวัคซีนเข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโควิด-19

การรักษาโดยใช้โมโนโคลนอลแอนติบอดีคืออะไร

แอนติบอดีคือโปรตีนที่ร่างกายของมนุษย์สร้างขึ้นเพื่อต่อสู้กับไวรัส เช่น ไวรัสที่ทำให้เกิดโควิด-19 แอนติบอดีที่ผลิตขึ้นในห้องปฏิบัติการจะทำหน้าที่เหมือนกับแอนติบอดีตามธรรมชาติเพื่อจำกัดปริมาณไวรัสในร่างกายของคุณ ซึ่งเรียกว่าโมโนโคลนอลแอนติบอดี หากคุณมีความเสี่ยงที่จะมีอาการป่วยรุนแรงจากโควิด-19 และมีผลตรวจว่าติดเชื้อโควิด-19 หรือสัมผัสใกล้ชิดกับบุคคลที่มีผลตรวจว่าติดเชื้อ คุณควรเข้ารับการรักษาโดยใช้โมโนโคลนอลแอนติบอดี (mAb) คุณจะมีสิทธิ์รับการรักษาโควิด-19 โดยใช้ mAb (bebtelovimab) ตามอายุ ประวัติสุขภาพ และระยะเวลาที่มีอาการ

ยาป้องกันก่อนสัมผัสใกล้ชิดกับโควิด-19 คืออะไร

ยาป้องกันก่อนสัมผัสใกล้ชิด (PrEP) คือยาที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสยึดเกาะและเข้าสู่เซลล์ของมนุษย์ Evusheld เป็นแอนติบอดีที่ออกฤทธิ์ยาวนานซึ่งได้รับอนุญาตให้นำมาใช้เพื่อป้องกันหรือปกป้องบุคคลก่อนที่จะสัมผัสกับเชื้อโควิด-19 เท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากโมโนโคลนอลแอนติบอดีอื่นๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน Evusheld ไม่ได้ใช้ในการรักษาอาการที่เกิดจากโควิด-19 และจะไม่ให้ยาตัวนี้หลังสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 แต่มีไว้เพื่อป้องกันก่อนสัมผัสใกล้ชิดเท่านั้น

ยาต้านไวรัสแบบกินคืออะไร

การรักษาด้วยยาต้านไวรัสแบบกินช่วยให้ร่างกายของคุณต่อสู้กับโควิด-19 ด้วยการหยุดไม่ให้เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 (ไวรัสที่ก่อให้เกิดโควิด-19) เพิ่มจำนวนในร่างกาย ทำให้จำนวนเชื้อไวรัสในร่างกายลดลง หรือช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของคุณ การรับประทานยาต้านไวรัสจะช่วยลดความรุนแรงของอาการลง รวมถึงลดโอกาสที่จะป่วยหนักขึ้นและการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วย ทั้งนี้ จะมีให้ยาต้านไวรัสโควิด-19 กับผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง ซึ่งไม่ได้อยู่ในโรงพยาบาล มีอาการไม่เกินห้าวัน และมีความเสี่ยงสูงที่จะเจ็บป่วยรุนแรง

ยาต้านไวรัสแบบฉีดเข้าหลอดเลือดดํา (IV) คืออะไร

Remdesivir (ภาษาอังกฤษเท่านั้น) เป็นยาต้านไวรัสที่ได้รับการยอมรับจาก Food and Drug Administration (FDA, องค์การอาหารและยา) และปัจจุบันไม่ได้จัดจำหน่ายโดย Washington State Department of Health (WADOH, กรมอนามัยวอชิงตันแห่งรัฐวอชิงตัน) ซึ่งจะป้องกันไม่ให้ไวรัสเพิ่มจำนวน โดยจะให้ยา Remdesivir ผ่านทางเข็มเจาะเส้นเลือด (หลอดเลือดดำ) เป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ (IV)

มีการรับรองให้ใช้ Remdesivir ในการรักษาผู้ใหญ่และเด็กที่ไม่ได้รักษาตัวในโรงพยาบาล แต่มีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อโควิด-19 อย่างรุนแรง เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2022 ทาง FDA ได้ขยายขอบเขตการใช้งานให้ครอบคลุมเด็กอายุอย่างน้อย 28 วันที่มีน้ำหนักอย่างน้อย 3 กก. (ประมาณ 6.6 ปอนด์) และผู้ที่มีความเสี่ยงที่โรคร้ายแรงจะมีอาการรุนแรงขึ้น ทำให้ Remdesivir เป็นวิธีการรักษาสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปีที่ได้รับการอนุมัติจาก FDA วิธีแรก

ควรเริ่มใช้ยา Remdesivir โดยเร็วที่สุดและภายใน 7 วันนับจากวันที่เริ่มมีอาการ ดังนั้นผู้ที่มีความเสี่ยงสูงควรจะต้องติดต่อผู้ให้บริการดูแลสุขภาพหากตนมีอาการและมีผลตรวจเชื้อโควิด-19 เป็นบวก วิธีการรักษานี้จะเป็นการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำสามครั้ง โดยให้ยาวันละครั้งเป็นเวลาสามวันติดต่อกัน

สถานพยาบาลบางแห่งไม่สามารถให้ยา Remdesivir แก่ผู้ป่วยนอกได้ ผู้ป่วยควรปรึกษากับผู้ให้บริการดูแลสุขภาพเพื่อดูว่ามีตัวเลือกในการรักษาอื่นหรือไม่

นอกจากนั้นยังใช้ Remdesivir ในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการป่วยรุนแรงเนื่องจากโควิด-19 ซึ่งรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลด้วย หากคุณต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องจากโควิด-19 ผู้ให้บริการดูแลสุขภาพของคุณจะตัดสินใจว่าจำเป็นต้องใช้ Remdesivir หรือวิธีการรักษาแบบอื่น

คำถามที่พบบ่อย

mAbs ช่วยผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 ได้อย่างไรบ้าง

การรักษาด้วย mAb ที่ได้รับอนุญาตจาก Food and Drug Administration (FDA, องค์การอาหารและยา) ของสหรัฐฯ เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน อาจช่วยผู้ที่มีความเสี่ยงสูง (ภาษาอังกฤษและภาษาสเปนเท่านั้น) จากอาการร้ายแรงของโรคเพื่อ:

  • ลดโอกาสที่ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล
  • ฟื้นตัวจากโควิด-19 เร็วขึ้น
ใครรับการรักษาด้วย mAb ได้บ้าง

mAb เหมาะกับผู้ที่:

  • ตรวจพบว่าติดโควิด-19
  • มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลางเป็นเวลาไม่เกิน 10 วัน
  • มีความเสี่ยงสูงที่จะมีอาการป่วยรุนแรง
ฉันสามารถรับวัคซีนโควิดหลังรับการรักษาด้วยโมโนโคลนอลแอนติบอดีได้หรือไม่

หากคุณรับการรักษาด้วยแอนติบอดีแบบรับมา (โมโนโคลนอลแอนติบอดีหรือพลาสมาที่มีโปรตีนภูมิคุ้มกัน) หลังจากติดเชื้อโควิด-19 คุณสามารถรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้ทุกเมื่อหลังสิ้นสุดการรักษา โดยไม่ต้องรอ 90 วันหลังสิ้นสุดการรักษาด้วยแอนติบอดีแบบรับมาอีกต่อไป

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสิทธิ์เข้ารับการรักษาด้วยแอนติบอดี้แบบรับมา ให้ปรึกษากับผู้ให้บริการของคุณ

ฉันจะแสดงให้เห็นได้อย่างไรว่าฉันได้รับการรักษาด้วยโมโนโคลนอลแอนติบอดีแล้ว

ผู้ให้บริการทางการแพทย์ที่ดูแลการรักษาด้วย mAb สามารถให้เอกสารที่ระบุว่าคุณได้รับการรักษาเมื่อใด

ใครรับยาต้านไวรัสแบบกินได้บ้าง

Paxlovid: ผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่และเด็ก (อายุ 12 ปีขึ้นไป หนักอย่างน้อย 88 ปอนด์/40 กก.) ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคโควิด-19 ขั้นรุนแรง รวมถึงต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลหรือมีโอกาสเสียชีวิต

Molnupiravir: ผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคโควิด-19 ขั้นรุนแรง รวมถึงต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลหรือมีโอกาสเสียชีวิต และผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงทางเลือกในการรักษาโควิด-19 ที่ได้รับอนุญาตจาก Food and Drug Administration (FDA, องค์การอาหารและยา) หรือตามความเหมาะสมทางคลินิกได้

Medicaid/Children's Health Insurance Program (CHIP) ครอบคลุมการรักษาหรือไม่

ครอบคลุม Medicaid/Children's Health Insurance Program (CHIP, โปรแกรมประกันสุขภาพเด็ก) ครอบคลุมค่าดำเนินการ (ภาษาอังกฤษเท่านั้น) ในการรักษาด้วย mAb ค่าดำเนินการ คือ ค่าธรรมเนียมที่ผู้ให้บริการดูแลสุขภาพเรียกเก็บในการรักษา โดยรัฐบาลกลางจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายตัวยา mAb ส่วนใหญ่ให้

ถ้าไม่มีประกัน จะยังรับการรักษาโควิด-19 ได้หรือไม่

ผู้ป่วยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ สำหรับยารักษาโรคโควิด-19 รัฐบาลกลางจัดซื้อให้ แต่ผู้ให้บริการอาจมีค่าธรรมเนียมการจ่ายยา การรักษา และการดำเนินการที่ประกัน ผู้ป่วย หรือโปรแกรมของรัฐบาลกลางอาจครอบคลุม หากต้องการทราบว่ามีความคุ้มครองประเภทใดเมื่อต้องเข้ารับการรักษา โปรดปรึกษาผู้ให้บริการของคุณ

บุคคลที่ไม่มีเอกสารสามารถรับการรักษาโควิด-19 ได้หรือไม่

บุคคลที่ไม่มีเอกสารสามารถรับความคุ้มครองจาก Alien Emergency Medical Program (AEM Program, โปรแกรมการรักษาทางการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับบุคคลต่างด้าว) (ภาษาอังกฤษเท่านั้น) ในส่วน:

  • เหตุฉุกเฉินที่ตรงตามเงื่อนไข เช่น การประเมินผลและการรักษาโควิด-19 
  • รูปแบบการตรวจเชื้อและการรักษา เช่น สำนักงาน คลินิก หรือการแพทย์ทางไกล
  • บริการที่ได้รับอนุมัติ บุคคลที่มีผลตรวจโควิด-19 เป็นบวกอาจได้รับยาและบริการดูแลผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจที่ครอบคลุม หากผลตรวจโควิด-19 เป็นบวก อาจมีการนัดตรวจติดตามผลและการรักษาที่ครอบคลุม

วิธีการสมัคร AEM

ผู้ใหญ่อายุ 19 ถึง 64 ปี:

ผู้ใหญ่อายุ 65 ปีขึ้นไป ที่ตาบอด พิการ หรือต้องรับบริการดูแลระยะยาว:

  • ออนไลน์: Washington Connection (ภาษาอังกฤษและภาษาสเปนเท่านั้น)
  • โทรศัพท์: 1-877-501-2233

รับการรักษาโควิด-19

โปรแกรม Test to Treat (ตรวจเชื้อแล้วรักษา) (ภาษาอังกฤษเท่านั้น) ช่วยให้เข้าถึงการรักษาโควิด-19 ได้เร็วและง่ายขึ้น ซึ่งอาจช่วยชีวิตคนได้ หากมีผลตรวจเป็นบวก คุณสามารถเข้าพบผู้ให้บริการดูแลสุขภาพ (ทั้งในสถานที่หรือผ่านระบบแพทย์ทางไกล) และหากมีคุณสมบัติได้รับสิทธิ์ คุณก็สามารถขอรับใบสั่งยาแบบกินสำหรับการรักษาและรับยาตามใบสั่งยานั้นได้ครบในที่เดียว

ไปที่ตัวระบุตำแหน่ง Test to Treat หรือโทร 1-800-232-0233 (TTY 1-888-720-7489) เพื่อขอรับความช่วยเหลือในภาษาอังกฤษ ภาษาสเปน และภาษาอื่นๆ อีกกว่า 150 ภาษา ศูนย์บริการข้อมูลเปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่ 08.00-00.00 น. ตามเขตเวลาตะวันออก และพร้อมช่วยคุณในการค้นหาสถานที่ใกล้เคียง
แหล่งข้อมูลสำหรับบุคคลที่ไม่มีประกัน

บุคคลที่ไม่มีประกันซึ่งต้องเข้ารับการรักษาโควิด-19 หรือความคุ้มครองด้านสุขภาพอื่นๆ สามารถเข้าถึง:

บุคคลที่ไม่มีประกันยังสามารถขอรับบริการได้จากคลินิกหลายแห่งที่เป็นส่วนหนึ่งของ Federally Qualified Health Centers (FQHC, ศูนย์สุขภาพที่ผ่านการรับรองจากรัฐบาลกลาง): 

ต้องการความช่วยเหลือในการหาสถานที่รับยาหรือไม่ โทร 1-800-232-0233 (TTY 888-720-7489) เพื่อค้นหาสถานที่ Test to Treat (ภาษาอังกฤษเท่านั้น)

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

สายด่วนโควิด-19 ของรัฐพร้อมให้บริการตอบคำถามเพิ่มเติม ดูข้อมูลสายด่วนได้ที่หน้าติดต่อเรา

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาโควิด-19 ได้ที่หน้าการรักษาโควิด-19 ของ Centers for Disease Control and Prevention (ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค)